หลังจากที่ผมได้มาร่วมงานกับคุณปรเมศวร์ มินศิริ ในการช่วยเหลือผู้้ประสบภัยพิบัติ ผมได้ประสบการณ์มากมายเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
- twitter เคยสมัคร แต่ไม่เคยใช้งาน ก็ต้องใช้เป็น
- ผมได้พัฒนารูปแบบของเว็บบล็อก ของ Blogger ให้ดูเรียบง่ายขึ้น
- ผมได้เห็นการทำงานของผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน โดยเฉพาะของพี่ปรเมศวร์
- ผมได้รู้จักกับมิตรที่ดี กับผู้้ใหญ่ที่น่านับถือหลายท่าน ซึ่งในภาวะปกติ คงยากที่จะได้พบเจอกัน
ส่วน ตัว ผมได้สังเกตุวิธีการทำงานของคุณปรเมศวร์ ไปโดยไม่รู้ตัว จริงๆ แล้วมีอีกหลายท่านนะครับ ที่ผมก็มารู้ตัวทีหลังว่า ผมสนใจติดตามโดยไม่รู้ตัว คงเป็นเพราะผมชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในชีวิต ก็เป็นได้
เขียนมาตั้งยาว ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผมจะจบตอนท้ายเลยครับ ก็คือว่า ผมอยากจะแค่บอกว่า
"ผมเห็นว่า พี่ปรเมศวร์ ได้ออกแบบโลโก้ของ "เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ" ขึ้นมา ซึ่งสวยมาก ดูอินเตอร์ เลยครับ - (แอบแซว่า ดูไกลๆ เหมือนโลโก้ ทีมฟุตบอล ในอังกฤษ เลยครับ) ผมจึงควรที่จะออกแบบโลโก้ ของ "กลุ่มอาสาสมัครคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัย" (ชื่อย่อ อพช.) เช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเริ่มต้นทำงานในครั้งนี้ครับ"
ที่ มาที่ไปของ ความคิดในการออกแบบโลโก้ของกลุ่ม อพช. นั้น เริ่มมาจาก "ผมรู้สึกขอบคุณพี่ปรเมศวร์มาก ที่นำเอาโลโก้ ของบริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ขึ้นเป็นเครดิต ในหน้ารวมโลโก้ของอาสาทุกกลุ่ม" ผมคิดต่อทันทีว่า โลโก้ PWD นั้น เป็นองค์กรเอกชน ที่สำคัญมันกินพื้นที่ของอาสาอื่นพอสมควร เพราะว่ายาว ครับ จึงมีความรู้สึกเรงใจทุกท่านมากๆ ทั้ง 2 ประเด็น
ทำให้ผม มีความคิดจะออกแบบโลโก้ของกลุ่ม อพช. ขึ้นมาใหม่ จนในที่สุด ก็ได้โลโก้แล้ว โดยยึดตามแนวทางเดิม คือ สัญลักษณ์คนพิการสากล มีโน๊ตบุ๊คบนตัก ที่สื่อให้เห็นถึง คนพิการที่ใช้เทคโนโลยี และปรุตัวอักษรชื่อกลุ่ม อพช. เป็นภาษาอังกฤษ อยู่ทางด้านขวามือ ทำให้ตัวโลโก้ ไม่กว้างจนเกินไป จะได้ไม่ไปเบียดที่คนอื่นๆ เขาครับ.....เฮ้อ สบายใจ ชื่อได้ + ไม่กินที่ อาสากลุ่มอื่นๆ ......มีความสุขครับ
ผมกำลังเตรียมงานอื่นๆ เพิ่มเติม สำหรับคนพิการด้วย เช่น เรื่องของการรวบรวมข้อมูล และความต้องการ ของผู้ประสบภัยที่เป็นคนพิการ หรือเรื่องของผู้ประสบภัยที่ต้องกลายมาเป็นคนพิการ ซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจ เหมืนความน่าสนใจที่ผมมีมาแต่เดิมว่า อาจไม่เคยมีใครเก็บสถิติว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุหมู่ แล้วมีผู้เสียชีวิตนั้น มีกี่คนที่เป็นคนพิการ เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้คงมีการผลักดันต่อไป ในการที่ผมได้เป็น "คณะกรรมการศึกษาแนวทางการประกันภัยสำหรับคนพิการ" แต่งตั้งโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น