สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เมื่อระยะเวลาผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว ผมอาจจะไม่ค่อยประชาสัมพันธ์แบบออก นอกหน้าสักเท่าไหร่ คือ ปฏิบัติตัวแบบพอดีๆ กับการทำงานการเมือง คือเพียงใช้พื้นที่ส่วนตัวในการบอกกล่าวกับ เพื่อน คนรู้จัก คนเคยรู้จัก หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้จักกันเลย แต่สามารถที่จะอ่านข้อความ ตัวหนังสือ ซึ่งเป็นตัวตนของผม แล้วมีความเข้าใจในเรื่องราวที่ผมสื่อสารออกไปได้ ถึงการทำงานด้านการเมือง แน่นอนว่า การทำงานการเมืองย่อมมีผลกระทบ เพราะมนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคม การกระทำของเราย่อมส่งผลกระทบของคนรอบข้างไม่มากก็น้อย
จึงมีผู้ใหญ่หลายท่าน โทรกลับมาพูดคุย สอบถาม จริงๆ แล้ว ผมอยากข้ามไปเลยถึงคำถามที่ว่า "ทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป" แต่สิ่งสำคัญก่อนถึงตรงนั้น ผมคิดว่า คำถามว่า "ทำไมถึงทำงานการเมือง" น่าจะสำคัญกว่า เพราะคำถามนี้ คือ "ตัวของเราเอง" ส่วนทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูปนั้น นั้น สำหรับผมคำตอบคือ "เป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม"
ผมให้นิยามคำตอบของคำถามว่าทำไมมาทำงานการเมือง ว่า "ตัวของเราเอง" เพราะเราศึกษาตัวเองแล้วว่า ตั้งแต่เด็กจนโต ผมมักทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเองเสมอ ไม่ใช่ว่าผม ไม่ชอบทำอะไรให้ตัวเอง แน่นอนว่า ใครๆ ก็ต้องทำเพื่อตัวเองก่อนเป็นลำดับต้นๆ แต่หากพิจารณาว่า ตั้งแต่วัยเด็ก ผมมักชอบทำเพื่อส่วนรวมมากกว่า เช่น ในวัยเด็ก ผมชอบเดินไปเก็บขยะไป (แม้ทุกวันนี้ หากผมมีมวลชนคนพิการในมือ ผมคงทำแคมเปญ "คนพิกลสนสิ่งแวดล้อม" ด้วยการพาคนพิการไปเดินเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะไปแล้ว สิ่งนี้คิดเป็นกิจกรรมแบบอดิเรกนะครับ) ผมชอบไปช่วยอุ้มถือสมุดการบ้านให้คุณครู ผมจะจ้องคอยลบกระดานดำให้คุณครู เวลาเขียนเสร็จ (ช่วง ม.ปลาย เพราะตัวสูงขึ้นมาก) กิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ผมชอบทำ พฤติกรรมเหล่านี้ สะสมมาจนถึงวัยทำงาน ที่ถูกพัฒนาขึ้นไปเป็นการแก้ปัญหาในการทำงานในลักษณะอาสาแก้ไขงาน ทำให้เมื่อมีสถานการณ์ที่ต้องแก้ปัญหา ส่วนตัวผมจะรู้สึกว่า น่าสนใจ น่าท้าทาย
ที่ผมเล่ามาคร่าวๆ นั้น ยังไม่ใช่ ว่าผมจะกล้าพูดว่าผมไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ผมทำเพื่อส่วนรวม ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ จนผมได้ผ่านช่วงเวลาสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต คือ การประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ จนกระดูกคอหัก ผมกลายเป็นคนพิการรุนแรง (ใช้ร่างกายเกือบ 90% ไม่ได้ ปัสสาวะ ขับถ่ายไม่ได้ ทานข้าวเองไม่ได้ในช่วงแรก ใช้นิ้วมือไม่ได้) ผมก้าวข้ามวินาทีสำคัญนั้นมา ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะในสมองของผมตอบคำถามตัวเอง ได้ว่า "หากผมแย่ จมกับตัวเอง อาม้า (คุณแม่) ของผมจะแย่ คนที่รักเรา รอบตัวเราจะแย่ จะเสียใจกับเรา จะทุกข์กับเรา ที่สำคัญขณะนั้นครอบครัวของผมไม่ได้อยู่ในฐานะที่ดี ผมรถคว่ำปี 2544 ครอบครัวเราล้มลุกคลุกคลายจากพิษเศรษฐกิจปี 2540 สถานการณ์โดยรวมมันแย่อยู่แล้ว หากตัวเราที่สนองความต้องการของตัวเอง ทำงานอย่างไม่ประมาณตน จนมีสภาพพิการรุนแรง ยังจมปรักกับความพิการ ความทุกข์ที่ตัวเองต้องเผชิญ และครอบครัวคนที่รักเราต้องเผชิญ คงยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมได้เรียนรู้ตัวเอง และหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมๆ กับความพิการที่เป็น ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความพิการที่ผมต้องอยู่กับตัวเราไปตลอดจนกว่าจะเสียชีวิต
ดังนั้น การมาทำงานการเมือง ที่เริ่มต้นจากความสนใจส่วนตัว ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวในอดีต จนมาเป็นคนพิการ และเห็นความเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจในมือ เช่น ผู้นำคนพิการ และข้าราชการ ที่ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ และดูถูกดูหมิ่นคนพิการ จนปี 2557 ที่ผมได้ร่วมกับพี่ๆ จัดตั้งพรรค "พลังพลเมือง" เพื่อสื่อสารถึงความเป็นพลเมือง คือ ประชาชนที่มีความรู้ด้านสิทธิต่างๆ และหมดศรัทธากับระบบพรรคการเมือง จากการเห็นโอกาส แสงสว่างบริสุทธิ์ ของสิทธิตามกฎหมายของสถานภาพของการเป็นพลเมือง แทน
ในที่สุดเมื่อ การขับเคลื่อนช่วยเหลืองคนพิการผ่าน "เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ" เดินทางมาถึงจุดข้อต่อของการหมดหวังกับระบบการปกครอง เข้าสู่พื้นที่ของการบังคับใช้กฎหมาย พึ่งอำนาจศาล จึงเป็นพรหมลิขิต ที่ทำให้ผมได้พบกับอาจารย์ไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งผมจะกล่าวถึงในตอนที่ 8 "ทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป" ต่อไป
ถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่าน คงพอจะเข้าใจคำตอบของผมว่า ทำไมถึงสนใจทำงานด้านการเมือง ผมก็เป็นคนธรรมดา คนหนึ่ง เพียงแต่มีวิธีคิดเป็นระบบ และมักมองภาพเป็นภาพกว้าง กว้างเท่าที่เรามีความรู้ ถ้าผมรู้น้อยก็กว้างน้อย ถ้ารู้มากก็คงจะกว้างขึ้นตามระดับความรู้ ในเรื่องนั้นๆ ผมยังไม่เคยไปต่างประเทศสักครั้งเดียว แต่ผมรู้เรื่องราวระหว่างประเทศจากการอ่าน และดูผ่านสื่อ แต่สถานะนี้ผมกลับมองว่า ผมคือตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเช่นกัน จึงสามารถคิดและมอง ออกแบบและเชื่อมโยง เพื่อคนส่วนใหญ่ได้
สิ่งสำคัญ คือ ผมไม่สามารถตอบได้ว่า เวลาทำงานแล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร แต่สามารถตอบได้ว่า เวลาทำงานจะทำเต็มที่ทุกงานที่เป็นเรื่องส่วนรวม แต่เรื่องส่วนตัวบางครั้งก็ทิ้งไปเลยก็มี ถ้า ณ ตอนนั้น ขณะนั้น ต้องเลือกระหว่างเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวม
ในตอนต่อไป นอกจากคำตอบที่ว่า "ทำไมต้องพรรคประชาชนปฏิรูป" ผมจะตอบคำถามพ่วงไปด้วยว่า "ทำไมถึงลง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 บางเขน" ครับ
ด้วยความนับถือ
ขอบคุณครับ
จึงมีผู้ใหญ่หลายท่าน โทรกลับมาพูดคุย สอบถาม จริงๆ แล้ว ผมอยากข้ามไปเลยถึงคำถามที่ว่า "ทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป" แต่สิ่งสำคัญก่อนถึงตรงนั้น ผมคิดว่า คำถามว่า "ทำไมถึงทำงานการเมือง" น่าจะสำคัญกว่า เพราะคำถามนี้ คือ "ตัวของเราเอง" ส่วนทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูปนั้น นั้น สำหรับผมคำตอบคือ "เป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม"
นายปรีดา ลิ้มนนทกุล ผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 12 เบอร์ 16 พรรคประชาชนปฏิรูป |
ผมให้นิยามคำตอบของคำถามว่าทำไมมาทำงานการเมือง ว่า "ตัวของเราเอง" เพราะเราศึกษาตัวเองแล้วว่า ตั้งแต่เด็กจนโต ผมมักทำเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเองเสมอ ไม่ใช่ว่าผม ไม่ชอบทำอะไรให้ตัวเอง แน่นอนว่า ใครๆ ก็ต้องทำเพื่อตัวเองก่อนเป็นลำดับต้นๆ แต่หากพิจารณาว่า ตั้งแต่วัยเด็ก ผมมักชอบทำเพื่อส่วนรวมมากกว่า เช่น ในวัยเด็ก ผมชอบเดินไปเก็บขยะไป (แม้ทุกวันนี้ หากผมมีมวลชนคนพิการในมือ ผมคงทำแคมเปญ "คนพิกลสนสิ่งแวดล้อม" ด้วยการพาคนพิการไปเดินเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะไปแล้ว สิ่งนี้คิดเป็นกิจกรรมแบบอดิเรกนะครับ) ผมชอบไปช่วยอุ้มถือสมุดการบ้านให้คุณครู ผมจะจ้องคอยลบกระดานดำให้คุณครู เวลาเขียนเสร็จ (ช่วง ม.ปลาย เพราะตัวสูงขึ้นมาก) กิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ผมชอบทำ พฤติกรรมเหล่านี้ สะสมมาจนถึงวัยทำงาน ที่ถูกพัฒนาขึ้นไปเป็นการแก้ปัญหาในการทำงานในลักษณะอาสาแก้ไขงาน ทำให้เมื่อมีสถานการณ์ที่ต้องแก้ปัญหา ส่วนตัวผมจะรู้สึกว่า น่าสนใจ น่าท้าทาย
ที่ผมเล่ามาคร่าวๆ นั้น ยังไม่ใช่ ว่าผมจะกล้าพูดว่าผมไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ผมทำเพื่อส่วนรวม ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ จนผมได้ผ่านช่วงเวลาสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต คือ การประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ จนกระดูกคอหัก ผมกลายเป็นคนพิการรุนแรง (ใช้ร่างกายเกือบ 90% ไม่ได้ ปัสสาวะ ขับถ่ายไม่ได้ ทานข้าวเองไม่ได้ในช่วงแรก ใช้นิ้วมือไม่ได้) ผมก้าวข้ามวินาทีสำคัญนั้นมา ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะในสมองของผมตอบคำถามตัวเอง ได้ว่า "หากผมแย่ จมกับตัวเอง อาม้า (คุณแม่) ของผมจะแย่ คนที่รักเรา รอบตัวเราจะแย่ จะเสียใจกับเรา จะทุกข์กับเรา ที่สำคัญขณะนั้นครอบครัวของผมไม่ได้อยู่ในฐานะที่ดี ผมรถคว่ำปี 2544 ครอบครัวเราล้มลุกคลุกคลายจากพิษเศรษฐกิจปี 2540 สถานการณ์โดยรวมมันแย่อยู่แล้ว หากตัวเราที่สนองความต้องการของตัวเอง ทำงานอย่างไม่ประมาณตน จนมีสภาพพิการรุนแรง ยังจมปรักกับความพิการ ความทุกข์ที่ตัวเองต้องเผชิญ และครอบครัวคนที่รักเราต้องเผชิญ คงยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมได้เรียนรู้ตัวเอง และหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อมๆ กับความพิการที่เป็น ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความพิการที่ผมต้องอยู่กับตัวเราไปตลอดจนกว่าจะเสียชีวิต
ดังนั้น การมาทำงานการเมือง ที่เริ่มต้นจากความสนใจส่วนตัว ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวในอดีต จนมาเป็นคนพิการ และเห็นความเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจในมือ เช่น ผู้นำคนพิการ และข้าราชการ ที่ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ และดูถูกดูหมิ่นคนพิการ จนปี 2557 ที่ผมได้ร่วมกับพี่ๆ จัดตั้งพรรค "พลังพลเมือง" เพื่อสื่อสารถึงความเป็นพลเมือง คือ ประชาชนที่มีความรู้ด้านสิทธิต่างๆ และหมดศรัทธากับระบบพรรคการเมือง จากการเห็นโอกาส แสงสว่างบริสุทธิ์ ของสิทธิตามกฎหมายของสถานภาพของการเป็นพลเมือง แทน
ในที่สุดเมื่อ การขับเคลื่อนช่วยเหลืองคนพิการผ่าน "เครือข่ายพิทักษ์สิทธิ์คนพิการ" เดินทางมาถึงจุดข้อต่อของการหมดหวังกับระบบการปกครอง เข้าสู่พื้นที่ของการบังคับใช้กฎหมาย พึ่งอำนาจศาล จึงเป็นพรหมลิขิต ที่ทำให้ผมได้พบกับอาจารย์ไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งผมจะกล่าวถึงในตอนที่ 8 "ทำไมต้องเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป" ต่อไป
ถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่าน คงพอจะเข้าใจคำตอบของผมว่า ทำไมถึงสนใจทำงานด้านการเมือง ผมก็เป็นคนธรรมดา คนหนึ่ง เพียงแต่มีวิธีคิดเป็นระบบ และมักมองภาพเป็นภาพกว้าง กว้างเท่าที่เรามีความรู้ ถ้าผมรู้น้อยก็กว้างน้อย ถ้ารู้มากก็คงจะกว้างขึ้นตามระดับความรู้ ในเรื่องนั้นๆ ผมยังไม่เคยไปต่างประเทศสักครั้งเดียว แต่ผมรู้เรื่องราวระหว่างประเทศจากการอ่าน และดูผ่านสื่อ แต่สถานะนี้ผมกลับมองว่า ผมคือตัวแทนของคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเช่นกัน จึงสามารถคิดและมอง ออกแบบและเชื่อมโยง เพื่อคนส่วนใหญ่ได้
สิ่งสำคัญ คือ ผมไม่สามารถตอบได้ว่า เวลาทำงานแล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร แต่สามารถตอบได้ว่า เวลาทำงานจะทำเต็มที่ทุกงานที่เป็นเรื่องส่วนรวม แต่เรื่องส่วนตัวบางครั้งก็ทิ้งไปเลยก็มี ถ้า ณ ตอนนั้น ขณะนั้น ต้องเลือกระหว่างเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวม
ในตอนต่อไป นอกจากคำตอบที่ว่า "ทำไมต้องพรรคประชาชนปฏิรูป" ผมจะตอบคำถามพ่วงไปด้วยว่า "ทำไมถึงลง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 บางเขน" ครับ
ด้วยความนับถือ
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น