27 กุมภาพันธ์ 2555 @ ร่วมกับทางภาคประชาชนจังหวัดชัยนาท พาชาวต่างชาติกลุ่ม BangkokVANGuards สำรวจพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 2/2

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ทริปสำรวจค่อนข้างแน่นมากๆ นะครับ แอบบอกว่าเหนื่อยมากๆ คู่กันไป แต่ว่าในใจของผม และทุกคนที่ไปด้วยกันนั้นผมว่า เต็มที่มากๆ เช่นกัน เพราะเรากำลังจะเปลี่ยนวิถีเกษตรเคมีของเกษตรกรให้เป็นเกษตรอินทรีย์ สำหรับตอนที่ 1/2 ผมอาจจะเน้นเรื่องด้านการท่องเที่ยว แต่สำหรับตอน 2/2 นี้ ผมจะเน้นด้านการเกษตร ตามโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ซึ่งแห่งแรกที่พาทุกคนไปดู หลังทานข้าวกลางวันเรียบร้อย คือที่นาของคุณมยุรี

ซึ่งที่นี่ ดูว่าคุณไมเคิล คุณคริสติน และคุณรูบี้ จะเริ่มไม่เข้าใจว่า ทำไมเกษตรกรถึงไม่ยอมใช้เกษตรอินทรีย์ ทั้งๆ ที่ก็ทราบข้อดี ของเกษตรอินทรีย์ พวกเราเองที่เป็นคนไทยก็พยายามอธิบายให้คุณไมเคิล และเพื่อนๆ เข้าใจ ส่วนตัวผมก็ทั้งอายนิดๆ เขินหน่อยๆ แต่ก็พยายามมาอธิบายในรถว่า เกษตรกรไทยนั้นอยู่ในวังวนของหนี้สิน ของนายทุนหรือระบบที่ผูกขาดในแต่ละพื้นที่ ระบบเกษตรเคมีนั้นทำให้มีต้นทุนสูง และภาพระหนี้วนเวียนกู้ยืมกับนายทุน เอามาใช้ แล้วทำนาคืน ไม่รู้จบสิ้น ต้องให้เวลาเกษตรกร และในระยะนี้ที่เริ่มต้น เกษตรกรก็ยังอาจจะต้องใช้เคมีบ้างผสมผสานกันไปครับ

เราพาทุกคนไปเยี่ยมนาของเกษตรกรผู้ประสบภัย ที่กำลังเก็บเกี่ยวโดยรถเกี่ยวข้าว ซึ่งผลที่ออกมานั้น 1 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้มากกว่า 1 เกวียน เกษตรกรดีใจมาก และตกลงกับเราว่า จะเพิ่มปริมาณพื้นที่ในการปลูกนาข้าวด้วยเกษตรอินทรีย์มากขึ้นครับ 




จากนั้นเราก็พาทุกคนไปสำรวจเส้นทางที่สถานีรถไฟตาคลี โดยย้อนเส้นทางจากแปลงนาของพื้นที่ประสบภัยไปตาคลีแทน และตั้งใจว่าจะกลับมาทำพิกัดส่งให้ แต่ในระหว่างที่เดินทางอยู่ในรถ คุณไมเคิลอยากได้เส้นทางที่ไม่ใช่ถนนใหญ่ เพื่อความปลอดภัย อยากวิ่งเส้นในมากกว่า ผมจึงได้แจ้งกลับไปยังพี่ดวงพร เพื่อช่วยสำรวจเส้นทางที่เหมาะสม ซึ่งในเร็ววันนี้ ก็จะนำรายละเอียดเส้นทางใหม่ มาบอกเพื่อนๆ ให้ทราบด้วยครับ

ก่อนจะสุดท้ายของสุดท้ายแล้ว เย็นมากแล้ว ตามแผนจริงๆ ต้องเดินทางกลับแล้ว แต่เราสองคน ผมกับพี่หนุ่ม ยังรู้สึกไม่สบายจในประเด็นที่คุณไมเคิล มองว่าเราอาจจะไม่ได้ช่วยผู้ประสบภัยจริงๆ เพราะ ณ วันนั้นที่เรามาช่วย เราไม่ได้คิดอะไร ถ้าเกษตรกรคนไหนที่ทั้งบ้านโดนน้ำท่วม หรือที่นาโดนน้ำท่วม เราก็ไม่เลือก เราก็ช่วยทั้งหมด แต่คุณไมเคิลอาจจะให้ความสำคัญกับนาที่โดนท่วมมากกว่าบ้าน จึงตัดสินใจพากันไปเยี่ยมคุณอ๊อด ซึ่งโดนน้ำท่วมทั้งบ้าน ทั้งนา ก็ทำให้รับรู้ได้ว่า ทางคุณไมเคิลและเพื่อนๆ เริ่มเข้าใจถึงการทำงานของเรามากขึ้นครับ






พื้นที่วัดราษฎร์บูรณะ บนอำเภอสรรพยา ที่ระดับความสูง สูงมากๆ ครับ (ดูจากภาพ) ด้านหลังเป็นนนาข้าวประมาณ 6 ไร่ ที่ท้ายที่สุดสามารถเก็บเกี่ยวได้ถึงไร่ละ 1 เกวียน + 10 ถัง ครับ




พี่หนุ่มกำลังคุยกับคุณอ๊อด ที่ทำนาบนแปลงนี้อยู่ครับ ซึ่งคุณอ๊อด พอใจมากครับกับผลผลิตที่ได้ ถึงจะมีบางส่วนที่เพลี้ยมาเกาะบ้าง แต่ก็เสียหายน้อยมากเพราะว่า ลำต้นแข็งแรงมาก ทำให้นาข้าวต้นไม่ล้มครับ ก่อนกลับแกยังขอปุ๋ยอินทรีย์น้ำไปใช้กับแปลงดอกดาวเรือง ซึ่งคราวหน้าถ้ามีอีกจะเก็บภาพไปฝากครับ






ลักษณะลำต้นที่แข็งแรงมากครับ




ดูความสูงถึงระดับน้ำที่ท่วมตรงเสาไฟฟ้าสิครับ สูงมากๆ ครับ


ไกลๆ นั่น คุณไมเคิล และคุณคริสติน กำลังไปถ่ายภาพเดี่ยวกันอยู่ครับ




สภาพต้นข้าวที่แข็งแรง และไม่ใช้เคมี มีหอยเชอรี่เกาะอยู่ด้วยครับ


ขั้นต่อไป คือการวางแผนงานต่างๆ สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในการทำนาข้าวตามวิถีเกษตรอินทรีย์ นับเป็นการเคลื่อนงานหลายมิติพร้อมกันครับ ทั้งงการขี่จักรยานรณรงค์ด้านสุขภาพ การขับผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญๆ รณรงค์ด้านการท่องเที่ยว การทำเกษตรอินทรีย์ก็รณรงค์วิถีเกษตรอินทรีย์ และถือว่าเป็นการส่งเสริมสนับสนุน "จิตอาสา" ที่ชาวต่างชาติจะมาช่วยคนไทย ผมถือว่าได้อีก 2 ประเด็น คือ ด้านจิตอาสา และความสามัคคี + การรักประเทศชาติ ที่แม้แต่ชาวต่างชาติยังรักเมืองไทย หวังดีกับคนไทย ประเทศไทย ดังนั้นคนไทยที่ทะเลาะกัน หันมาดูชาวต่างชาติกันบ้าง ว่าเขารักเมืองไทยแค่ไหนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook