สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความนี้เป็นอีกวันที่ผมมีความรู้สึกกับความคุ้มค่าที่ในวันหนึ่งเราได้ทำ ได้ทำในที่นี้ก็ไม่ได้มีอะไรมาก คือ ได้มานั่งฟังเท่านั้นเอง ส่วนตัวผมคิดว่าสุดยอดของการรู้ คือการอ่าน มากกว่าการอ่านคือ การเขียน มากกว่าการเขียนก็คือการฟัง และสุดยอดที่สุดของที่สุดก็คือการนิ่งๆ ไม่ขยับ เพราะจะทำให้มีการประมวลผลในสมองแบบที่เราก็คาดคิดไม่ถึง ผมมักคิดนี่ นั่น โน่น ในตอนที่นิ่งเฉยๆ บ่อยๆ ดังนั้นวันนี้มาเตรียมตัวมาฟังอย่างเดียวครับ ในงานประชุมวิชาการ BERAC 4, 2013 ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง โดยแบ่งเป็นช่วงเช้า และบ่ายครับ
ตารางกำหนดการทั้งวันสามารถดูได้จากลิงก์นี้ครับ https://docs.google.com/document/d/1Z9WIwz56PmV41YrNuIG9CU8n77JulwImqAD_QbXQ4no/pub ช่วงเช้า เป็นการเข้าฟังบรรยายจากวิทยากรคุณ โตโมฮิโกะ ยามานาชิ (Tomohiko Yamanashi, Executive Officer, Principal-in-Charge Nikken Sekkei, Japan) ซึ่งมาบรรยายเรื่อง การออกแบบอาคารที่ไม่ฟุ่มเฟือยวัสดุ โดยมีแรงบรรดาลใจจากคำสอนของคุณแม่ และจากวิทยากรทั้ง 4 ท่านคือ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), รองศาสตราจารย์ ดร.คุ้มพงศ์ หนูบรรจง (คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง), อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร) และ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติรักษ์ ประเสริฐสุข จากธรรมศาสตร์ นับเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทำให้ได้มุมมองของสถาปัตยกรรมกับการเมือง ใจจริงผมอยากเขียนมากกว่านี้ครับ แต่เพราะได้อ่านบทความของ ดร.สมเกียรติใน facebook ผมจึงอยากขอนำ ลิงก์บทความของท่าน มาแบ่งปันมากกว่า เพราะกระชับและได้สาระอย่างมากครับ
สำหรับการฟังบรรยายในช่วงบ่าย ต่อตอนที่ 2/2 ละกันนะครับ เพราะมีหัวข้อที่อยากเล่าให้อ่านอย่างมากครับ อีกทางกำลังหาทางที่จะเอาบาง Thesis ขึ้นอยู่ หรืออาจจะได้แค่หัวข้อ ขอศึกษาก่อนนะครับ หาใครกำลังทำงานวิจัยอยู่ อ่านตามต่อตอน ต่อไปได้นะครับ
ตารางกำหนดการทั้งวันสามารถดูได้จากลิงก์นี้ครับ https://docs.google.com/document/d/1Z9WIwz56PmV41YrNuIG9CU8n77JulwImqAD_QbXQ4no/pub ช่วงเช้า เป็นการเข้าฟังบรรยายจากวิทยากรคุณ โตโมฮิโกะ ยามานาชิ (Tomohiko Yamanashi, Executive Officer, Principal-in-Charge Nikken Sekkei, Japan) ซึ่งมาบรรยายเรื่อง การออกแบบอาคารที่ไม่ฟุ่มเฟือยวัสดุ โดยมีแรงบรรดาลใจจากคำสอนของคุณแม่ และจากวิทยากรทั้ง 4 ท่านคือ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), รองศาสตราจารย์ ดร.คุ้มพงศ์ หนูบรรจง (คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง), อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร) และ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สันติรักษ์ ประเสริฐสุข จากธรรมศาสตร์ นับเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทำให้ได้มุมมองของสถาปัตยกรรมกับการเมือง ใจจริงผมอยากเขียนมากกว่านี้ครับ แต่เพราะได้อ่านบทความของ ดร.สมเกียรติใน facebook ผมจึงอยากขอนำ ลิงก์บทความของท่าน มาแบ่งปันมากกว่า เพราะกระชับและได้สาระอย่างมากครับ
ห้องประชุมแน่น เต็มเกือบทุกที่นั่ง
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งาน
หลังการประชุมช่วงเช้า รีบลงบันไดมาขออาจารย์สมเกียรติ ถ่ายภาพด้วยครับ
เป็นความคุ้มที่ได้มาร่วมงานนี้อีกเรื่องหนึ่งครับ
พูดถึงความคุ้มค่าของการมาร่วมงาน ผมยังได้รับหนังสือรวมเล่มวิทยานิพนธ์ที่มีความหนาถึง 600 หน้า, ได้ Journal 4 เล่ม, ได้ทรัมป์ไดร์ฟ ที่มี soft file เอกสารทั้งหมด, ได้รับอาหารเบรค และอาหารกลางวันอร่อยๆ จาก MK สุกี้ มีน้ำอัดลม 1 กระป๋อง กับน้ำเปล่าอีก 2 ขวด แถมด้วยกระเป๋าผ้า BERAC สีน้ำเงินสวยๆ อีก 1 ใบ และที่สำคัญมากที่สุดของความคุ้มค่าก็คือ ความรู้จากวิทยากรทุกท่าน และจากนักศึกษาปริญญาโท ที่มาบรรยายผลงานวิจัยของตนเอง ที่ห้องย่อยของช่วงบ่าย ที่ผมอยากนำมาแบ่งปันเพื่อนๆ ด้วยครับ
ผมเข้าห้อง 415 ที่เกี่ยวกับการออกแบบภายใน
บรรยากาศภายในห้องย่อย 415 ที่ผมเข้าฟังบรรยายครับ สนุกสนานได้ความรู้มาก
สำหรับการฟังบรรยายในช่วงบ่าย ต่อตอนที่ 2/2 ละกันนะครับ เพราะมีหัวข้อที่อยากเล่าให้อ่านอย่างมากครับ อีกทางกำลังหาทางที่จะเอาบาง Thesis ขึ้นอยู่ หรืออาจจะได้แค่หัวข้อ ขอศึกษาก่อนนะครับ หาใครกำลังทำงานวิจัยอยู่ อ่านตามต่อตอน ต่อไปได้นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น