11 พศจิกายน 2553 @ ออกแบบโลโก้ของ "กลุ่มอาสาสมัครคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัย" หรือ อพช.

เขียนที่บ้าน 11 พฤศจิกายน 2553

หลังจากที่ผมได้มาร่วมงานกับคุณปรเมศวร์ มินศิริ ในการช่วยเหลือผู้้ประสบภัยพิบัติ ผมได้ประสบการณ์มากมายเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
  • twitter เคยสมัคร แต่ไม่เคยใช้งาน ก็ต้องใช้เป็น
  • ผมได้พัฒนารูปแบบของเว็บบล็อก ของ Blogger ให้ดูเรียบง่ายขึ้น
  • ผมได้เห็นการทำงานของผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน โดยเฉพาะของพี่ปรเมศวร์
  • ผมได้รู้จักกับมิตรที่ดี กับผู้้ใหญ่ที่น่านับถือหลายท่าน ซึ่งในภาวะปกติ คงยากที่จะได้พบเจอกัน
อีกหลายอย่างที่อยากจะแชร์ ให้ได้อ่านกัน ซึ่งเอาไว้จะเขียนแบบเต็มๆ ตามอารมณ์ความรู้สึก ที่มีต่อการทำงานในครั้งนี้ครับ

ส่วน ตัว ผมได้สังเกตุวิธีการทำงานของคุณปรเมศวร์ ไปโดยไม่รู้ตัว จริงๆ แล้วมีอีกหลายท่านนะครับ ที่ผมก็มารู้ตัวทีหลังว่า ผมสนใจติดตามโดยไม่รู้ตัว คงเป็นเพราะผมชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในชีวิต ก็เป็นได้

เขียนมาตั้งยาว ไม่ได้เกี่ยวกับที่ผมจะจบตอนท้ายเลยครับ ก็คือว่า ผมอยากจะแค่บอกว่า

"ผมเห็นว่า พี่ปรเมศวร์ ได้ออกแบบโลโก้ของ "เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ" ขึ้นมา ซึ่งสวยมาก ดูอินเตอร์ เลยครับ - (แอบแซว่า ดูไกลๆ เหมือนโลโก้ ทีมฟุตบอล ในอังกฤษ เลยครับ) ผมจึงควรที่จะออกแบบโลโก้ ของ "กลุ่มอาสาสมัครคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัย" (ชื่อย่อ อพช.) เช่นเดียวกัน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเริ่มต้นทำงานในครั้งนี้ครับ"

ที่ มาที่ไปของ ความคิดในการออกแบบโลโก้ของกลุ่ม อพช. นั้น เริ่มมาจาก "ผมรู้สึกขอบคุณพี่ปรเมศวร์มาก ที่นำเอาโลโก้ ของบริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ขึ้นเป็นเครดิต ในหน้ารวมโลโก้ของอาสาทุกกลุ่ม" ผมคิดต่อทันทีว่า โลโก้ PWD นั้น เป็นองค์กรเอกชน ที่สำคัญมันกินพื้นที่ของอาสาอื่นพอสมควร เพราะว่ายาว ครับ จึงมีความรู้สึกเรงใจทุกท่านมากๆ ทั้ง 2 ประเด็น

ทำให้ผม มีความคิดจะออกแบบโลโก้ของกลุ่ม อพช. ขึ้นมาใหม่ จนในที่สุด ก็ได้โลโก้แล้ว โดยยึดตามแนวทางเดิม คือ สัญลักษณ์คนพิการสากล มีโน๊ตบุ๊คบนตัก ที่สื่อให้เห็นถึง คนพิการที่ใช้เทคโนโลยี และปรุตัวอักษรชื่อกลุ่ม อพช. เป็นภาษาอังกฤษ อยู่ทางด้านขวามือ ทำให้ตัวโลโก้ ไม่กว้างจนเกินไป จะได้ไม่ไปเบียดที่คนอื่นๆ เขาครับ.....เฮ้อ สบายใจ ชื่อได้ + ไม่กินที่ อาสากลุ่มอื่นๆ ......มีความสุขครับ

ผมกำลังเตรียมงานอื่นๆ เพิ่มเติม สำหรับคนพิการด้วย เช่น เรื่องของการรวบรวมข้อมูล และความต้องการ ของผู้ประสบภัยที่เป็นคนพิการ หรือเรื่องของผู้ประสบภัยที่ต้องกลายมาเป็นคนพิการ ซึ่งประเด็นนี้น่าสนใจ เหมืนความน่าสนใจที่ผมมีมาแต่เดิมว่า อาจไม่เคยมีใครเก็บสถิติว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุหมู่ แล้วมีผู้เสียชีวิตนั้น มีกี่คนที่เป็นคนพิการ เป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้คงมีการผลักดันต่อไป ในการที่ผมได้เป็น "คณะกรรมการศึกษาแนวทางการประกันภัยสำหรับคนพิการ" แต่งตั้งโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook