งานด้านการสร้างอาชีพที่คุณทำอยู่ ไม่ได้ช่วยคนพิการทั่วไป ช่วยแต่คนพิการที่อยู่ระดับบน มีความรู้ มีคอมพิวเตอร์

คำถามนี้ ผมไม่เคยโดนถามตรงๆ อย่างที่ผมเกริ่นๆ เอาไว้ว่า ส่วนใหญ่ไม่มีใครถามผม แต่ผมมักจะรู้มาจากอีกคนหนึ่ง ที่คงจะได้พูดคุยด้วย

ผมตอบแบบไม่ลังเลใจเลยว่า แนวทางการทำงานของผม ต้องเห็นผลเร็ว ไม่นานก็ทำให้สังคมรับรู้ อาจจะภายในไม่กี่เดือน คือเร็วที่สุด ตามระยะเวลาโครงการ ถ้าไม่ใช่ ก็ปรับปรุง หรือหาวิธีการใหม่ๆ ในครั้งต่อไปของการทำงาน ดังนั้น การที่ผมทำงานด้านไอทีอยู่แล้ว และผมไม่ต้องไปเรียนรู้มาก ผมจึงต้องดึงแนวร่วมในการทำงาน ที่เป็นคนพิการที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐาน และถ้าจะตอบโจทย์ว่า "คนพิการต้องการทำงานที่บ้าน" ก็ต้องพัฒนาโปรแกรมปฏิบัติการ Telesales Pro ขึ้นมา เพื่อให้ตอบโ็จทย์การทำงานที่บ้าน

ในประเทศไทย มีสถาบันที่ผลิตคนพิการให้มีองค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอรื และไอที อยู่แล้ว หลายแห่ง ทั่วประเทศ เช่น พระมหาไถ่ หรือมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ดังนั้น การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือการนำคนพิการที่มีความรู้แล้ว มาต่อยอดในการทำงาน ผมถือว่า win win win win (4 win เลย) คือ เรา, คนพิการ, สถาบัน และผู้ประกอบการ ที่ว่าจ้างเรา

การทำงานของผม หุ้นส่วน และทีมงาน ผมถือว่าตอบโจทย์ทุกข้อ และเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเองมากนัก เราเป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่ง ในสังคม เป็นพลังเล็ๆ ที่จะแสดงให้สังคมเห็นว่า การพัฒนาอาชีพให้กับคนพการในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคน สามารถทำได้ ผู้มีอำนาจ หรือมีศักยภาพ ในบ้านเรา สามารถทำได้ ถ้าคิดจะทำ และลงมือ

ดังนั้น การหยิบยื่นงาน ให้กับกลุ่มคนพิการที่มีความรู้ และมีความพร้อม ย่อมทำให้ประเทศชาติลดภาระลงไปได้ในระดับหนึ่ง ไม่มากก็น้อย และผมหวังลึกๆ เลยว่า คนพิการเหล่านี้ที่ได้รับโอกาส ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการให้โอกาสงคนพิการ คนอื่นๆ ต่อไป เมื่อพวกเขามีความพร้อม เหมือนอย่างที่ผมทำ

ด้วยหลักการนี้ ถึงผมจะไม่อยู่ในโลกนี้ แต่จิตวิญญาณ ความรู้สึกนึกคิด ตัวอย่างวิธีการ จะยังคงอยู่ และมีการทำต่อไป

ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
คนทุพพลภาพมืออาชีพ
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook