10 มีนาคม 2555 @ ร่วมประชุมการจัดลำดับความสำคัญของโรคและปัญหาสุขภาพในประเทศไทย จัดโดย HITAP ที่โรงแรมแรมแบรนด์ สุขุมวิท 18

สวัสดีครับเพื่อนๆ อยากบอกเพื่อนๆ ว่า วันนี้เป็นอีกครั้งอีกแล้วนะครับ ที่ผมได้รับโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมการจัดลำดับความสำคัญของโรคและปัญหาสุขภาพในประเทศไทย ซึ่งจัดโดย HITAP ที่โรงแรมแรมแบรนด์ ผมได้รับโอกาสนี้จากการเป็นตัวแทนของพี่ดวงพร อิฐรัตน์ ในนามประชาสังคมจังหวัดชัยนาท รับรู้ได้เลยว่าแต่ละท่านที่เข้ามาร่วมประชุมนั้นเป็นคนที่มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบสูง

เป็นการประชุมที่ทุกคนดูมีพลัง มีความสนใจ ใส่ใจในทุกจังหวะ ทุกนาที แทบไม่มีใครแม้แต่คนเดียวเลยที่จะไม่ให้ความสำคัญตลอดการประชุม หลายๆ ครั้งที่ผมได้มีโอกาสทั้งมาเป็นตัวแทนคนชัยนาท ทั้งมาร่วมพร้อมกับพี่ดวงพร ในนามคนชัยนาท ก็รับรู้ถึงความรู้สึกได้ของบทบาทหน้าที่ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสาระ และความสนอกสนใจทั้งจากของตัวผมเอง และทุกๆ คน บรรยากาศเป็นอย่างนั้นจริงๆ ในใจนึกไปถึงว่า อยากให้คนพิการที่มีเป็นระดับผู้นำ เป็นแบบนี้ครับ สนใจ ใส่ใจ และผมหวังไปถึงที่จะนำทุกอย่างในห้องประชุมไปใช้ในชีวิตประจำวัน และในการขับเคลื่อนระดับชุมชน สังคม 

สำหรับวันนี้ก็เป็นประเด็นของการจัดลำดับในการคัดกรองโรค และยังนำ iPad มาใช้ในการลงคะแนน หรือโหวตเลือก และจัดลำดับ ของโรคที่สามารถคัดกรอง ตามที่ตัวเองให้ความสำคัญ ด้านเนื้อหาผมขอนำไปวางไว้ใจ้ภาพนะครับ เพื่อนๆ สามารถอ่านคราวๆ ได้เลยนะครับ หากมีคำถามสามารถามมาในความคิดเห็นได้ครับ แล้วผมจะเข้ามตอบเท่าที่ทราบนะครับ






อาจารย์ นพ.ยศ กำลังอธิบายถึงตารางลำดับการคัดกรองโรค









ผู้เข้าร่วมประชุมกำลังอภิปรายอย่างมีสาระทุกท่าน


การนำเอา iPad มาใช้ในการลงคะแนน และจัดลำดับครับ



ผมกำลังเลือก 10 หัวข้อการคัดกรองโรคครับ


ถ่ายภาพคู่กับพี่พงษ์ศิลป์ จากนครปฐมครับ


การแสดงการจัดลำดับบนหน้าจอครับ ซึ่งจะทราบหลังจากการลงคะแนนครับ



หลังการลงคะแนน จะแสดงผลรวมของแต่ละโรคครับ


มีการอภิปรายหลังลงคะแนน 2 รอบครับ


สำหรับรอบที่ 2 และ 3 นั้น เป็นการลงคะแนนแบบจัดลำดับ 1-5 ครับ




ตัวอย่างการลงคะแนนแบบจัดลำดับของผมครับในรอบ 3 สุดท้าย

ที่เข้มข้นและมีสาระมากก็ตรงที่ พอแต่ละรอบเมื่อเห็นคะแนนแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิจะขออภิปรายในประเด็นที่ตัวเองเห็นว่าสำคัญ ซึ่งที่เห็นเด่นชัด ก็เรื่อง "โลหิตจาง" ซึ่งมีผลต่อเด็กอย่างมาก เนื่องจากคุณหมอที่อภิปราย ได้ให้ข้อมูลสำคัญว่า คนในประเทศ 1 ใน 3 เป็นพาหะของ ทัลลัสซีเมีย ซึ่งเด็กที่คลอดออกมาจะเป็นโลหิตจาง และจะทำให้พัฒนาการช้า จึงเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติของไทยครับ

สำหรับข้อมูลที่ผมพิมพ์ระหว่างการประชุมมีดังนี้ครับ (โดยดูจากอัพเดทสุดอยู่ด้านบนนะครับ)


การโหวตครั้งที่ 3
  1. หัวใจขาดเลือด / อัมพาต 149
  2. เบาหววาน 102
  3. การติดแอลกอฮอล์ 65
  4. ตับแข็ง / มะเร็งตับ 59
  5. - 10. (ผมพิมพ์ไม่ทัน เพราะทางผู้จัดปิดจอไปก่อน แต่ได้รับแจ้งว่า จะจัดส่งมาให้ที่บ้านครับ)
การอภิปรายสำหรับการโหวตในครั้งที่ 2
  • 1 ใน 3 เป็นพาหะทาลัสซีเมีย ซึ่งทำให้เด็กโง่ / รุนแรงปีละ 5,000 คน ประเด็น โลหิตจาง / ทาลัสซีเมีย (รักษา 1 ล้าน ต่อเนื่อง 1 แสน)
  • นำเสนอประเด็น วิตกกังวล
ประเด็นเพิ่มเติม : 32 มะเร็งลำไส้ 33 มะเร็งต่อมลูกหมาก 34 ปัญหาการนอน 35 โรคกระดูกพรุน
การโหวตครั้งที่ 2
1.หัวใจขาดเลือด / อัมพาต 159
2.เบาหวาน 103
3.ตับแข็ง / มะเร็งตับ 72
4.การติดแอลกอฮอล์ 70
5.มะเร็งปากมดลูก 54
6.หอบหืด 31
7.ไตอักเสบ 30
8.ข้อเสื่อม 23 = ผิดประเด็นไป น่าจะคัดกรองไม่ได้
9.เอชไอวี / เอดส์ 22
10.ต้อกระจก / ต้อหิน 20


การอภิปรายสำหรับการโหวตครั้งที่ 1
  • เน้นเรื่องเด็ก / ผมเสนอประเด็นโรคที่เกิดจาการทาน ซึ่งสามารถป้องกันได้
  • ประเด็นน่าสนใจ เรื่องภูมิแพ้ ต้นทางของหอบหืด
  • มีการรวมประเด็นพิจารณา 2. อัมพาต+ 7. หัวใจขาดเลือด / 12. ตับแข็ง + 8. มะเร็งตับ
  • วิพากษ์เรื่องความเสี่ยง หรือคัดกรองโรค / การรักษา = ไม่เอา / ความเสี่ยง และปัจจชัยเสี่ยงการเป็นโรค = เอา
  • ปัญหาการนอน Sleep Test / นำเสนอ............
  • จากประกันสังคม จะเปิดกฏหมายด้านการส่งเสริม นำเสนอการคัดกรองที่สามารถเป็นชุดสิทธิประโยชน์ได้จริง
  • เข้าใจได้ว่า เมื่อสรุปหัวข้อการคัดกรองแล้วจะแยกประเภท เช่น อายุ เพศ ในการคัดกรองต่อไป
  • นำเสนอ กระดูกหัก / กระดูกพรุน และโรคอ้วน ซึ่งจะปรากฏในโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือด / ไตอักเสบ+นิ่ว / ต้อกระจก+ต้อหิน
การโหวตครั้งที่ 1
1 เบาหวาน 32
2 มะเร็งปากมดลูก 29
3 หัวใจขาดเลือด 27
4 การติดแอลกอฮอล์ 25
5 อัมพาต / อัมพฤกษ์ 25
6 เอชไอวี / เอดส์ 25
7 มะเร็งตับ 24
8 ไตอักเสบ 21
9 มะเร็งลำไส้ใหญ่ 21
10 มะเร็งเต้านาม 20


การทำความเข้าใจ
การคัดกรองเพื่อป้องกัน และจัดชุดสิทธิประโยชน์
ประเด็นเพิ่มเติม 1 มะเร็งลำไส้ 2 มะเร็ง 3 ปัญหาการนอน

คาดว่ารายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุมน่าจะมีการสรุปส่งมายังผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละท่านอีกทีในภายหลังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook