14 มีนาคม 2555 @ ไปร่วมประชุมนำเสนอการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรรูปแบบเชิงพาณิชย์ เพื่อดูแลพื้นที่ของตัวเอง ในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 1/2

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันที่ลุยๆ อีกวันหนึ่งเหมือนกันครับ สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท เช่นเคยครับเราไปเริ่มต้นที่บ้านพี่ดวงพร อิฐรัตน์ เรามากัน 3 คนนะครับ คือพี่หนุ่ม ผม และโกวเล็ก เพราะว่าวันนี้เราจะไป 2 พื้นที่ คือ บ้านอ้อย สรรพยา และธรรมมูล ปรากฏว่ากำนันของชัยนาท มีไปประชุมที่อยุธยากันหมด ช่วงเช้าพี่หนุ่มกับโกวเล็ก จึงเปลี่ยนแผนเป็นพูดคุยกับชาวนาใกล้ๆ บริเวณอำเภอเมือง ส่วนผมไปแนะนำการใช้งานเครื่องพิมพ์ (พ่วงสแกนและถ่ายเอกสาร ไปในตัวครับ) ให้กับพี่ดวงพรครับ

ช่วงบ่ายต้นๆ พี่ดวงพร พาพวกเราไปสำรวจเส้นทางขับขี่จักรยานระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่ทางคุณไมเคิล และกลุ่มชาวต่างชาติ จะมาขับขี่จักรยานตามเส้นทางที่สำรวจ โดยเริ่มจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชัยนาท เลาะตามแม่น้ำเจ้าพระยา (ขึ้นไปทางด้านเหนือของชัยนาท) ไปยังพื้นที่ทดลอง สาธิต ของตำบลธรรมมูล


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชัยนาท ครับ





ตลอดระยะทาง 7 กิโลเมตร


มาถึงแล้วครับ ศูนย์การรู้ฯ ธรรมมูล



บรรยากาศภายในศูนย์ฯ







ระหว่างทางก่อนมาถึงที่ศูนย์ฯ พี่ดวงพร คาดการณ์ล่วงหน้าไว้เรียบร้อย ด้วยการซื้อไก่ย่างห้าดาว ภรรยากำนันธวัชชัย จึงไปซื้อส้มตำ มาให้ทานกัน ขอบอกว่า อร่อยมากๆ ที่สำคัญ ถุงละ 10 บาทเท่านั้นเองครับ ตั้งใจเลยว่า คราวหน้าผ่านไปแถวนั้น จะต้องหาซื้อมากินอีกครับ พวกเราทั้ง 5 คน คือ ผม โกวเล็ก พี่หนุ่ม พี่ดวงพร และพี่เพ็ญศรี (ผู้ช่วยพี่ดวงพร เกษตรกรนักกิจกรรม และเป็นเกษตรกรอินทรีย์ตัวยงอีกท่านหนึ่ง) ก็เลยนาท ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ครบสูตร รอกำนันธวัชชัยไปพลางๆ แบบอิ่มๆ ไปด้วยครับ เมื่ออิ่มพอดี กำนันธวัชชัยก็มาถึงครับ 

แต่ดูท่าทางทั้งกำนัน ทั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 และหมู่ 3 จะเหนื่อยมากๆ ดูอิดโรยพอสมควร เพื่อไม่ให้ทุกคนเหนื่อยไปกว่านี้ ผมจึงได้ขอเริ่มพูดถึงโครงการช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัยพิบัติ โดยกลุ่มชาวต่างชาติ BangkokVANGuards ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญคือ เกษตรกรผู้ประสบภัย ต้องทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ เมื่อเก็็บเกี่ยวเสร็จจึงรวมเงินคืนมูลนิธิ OpenCARE เพื่อผมจะได้นำไปช่วยพื้นที่ประสบภัยอื่นต่อไป

ในส่วนของพี่ดวงพร อิฐรัตน์ ได้นำเสนอให้กลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลธรรมมูล จัดตั้งกลุ่มแบบจดทะเบียนจัดตั้งเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ (หสม.) ของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับกำนัน และผูู้ใหญ่บ้าน บวกกับเหนื่อยกลับมากันทุกคน จึงอาจต้องให้เเวลากับทุกท่าน และพี่ดวงพรก็ได้ให้แบบฟอร์มเอาไว้กับกำนันธวัชชัย ส่วนโกวเล็ก และพี่หน่มก็อธิบายตัวผลิตภัณฑ์ และยกตัวอย่างเกษตรกรที่บ้านอ้อย สรรพยา ที่ได้ผลเก็บเกี่ยว 1 เกวียนถึงกว่า สำหรับการทำนาหว่าน ในครั้งนี้ ซึ่งถือว่าผลตอบแทนสูงพอสมควร จึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่หันมาสนใจทำเกษตรอินทรีย์จำนวนมากครับ








คุยกันเกือบเสร็จ ผมก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมหลายเรื่อง ทั้งเรื่องนาดีด เรื่องปัญหาที่เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการทำงานที่หละหลวมของฝ่ายรัฐ แล้วทิ้งปัญหาไว้ให้ เรื่องเอกสารของการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่ไม่ได้รับง่ายๆ ทำให้ผู้นำระดับตำบล หมู่บ้าน บริหารจัดการงานยาก

หรือแม้แต่เรื่องไม่น่าเชื่อ ในความคิดของผม คือ เรื่อง "พันธุ์ข้าว" ที่กำนันธวัชชัย นำมาให้พวกเราดู ปรากฏว่าไม่สมบูรณ์ ลีบ ดำ ฝ่อ ไม่น่าเชื่อว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ทางการควบคุมแล้ว ทำไมถึงปล่อยปละละเลยขนาดนี้ ทำให้สร้างปัญหากับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก


สังเกตุเห็นได้ชัดว่า กำนันเหนื่อยมาก พวกเราจึงขอตัวกลับก่อน แวะไปส่งพี่ดวงพร และพี่เพ็ญศรี แต่ก่อนจะกลับ พี่หนุ่มเกรงว่าจะเสียเที่ยว อุตส่าห์มาถึงชัยนาท จึงลองติดต่อคุณอ๊อด เกษตรกรที่ได้ทดลองใช้เกษตรอินทรีย์ไป 6 ไร่ แล้วได้ผลผลิตดีมากๆ ในความรู้สึกของคุณอ๊อด ปรากฏว่าคุณอ๊อด อยากพบพวกเรา จึงแห่ขับรถย้อนเข้าไปด้านใน พื้นที่สรรพยา อย่างตั้งใจ ซึ่งผมขอยกยอดไปตอนต่อไป นะครับ

ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook