13 มีนาคม 2555 @ ร่วมประชุมพี่เลี้ยงสำหรับการอบรมการพัฒนาทักษะการวิจัยชุมชนฯ หรือ RECAP ที่โรงแรมทีเคพาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ ของทีมงาน สพช.

สวัสดีครับเพื่อนๆ อยากบอกความรู้สึกดีๆ กับเพื่อนๆ อีกครั้งที่ผมได้รับโอกาสจากพี่ดวงพร อิฐรัตน์ ในการมาร่วมประชุมกับ สพช. (สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อภารกิจสำคัญยิ่งในทรรศนะของผมเลยนะครับ โดยเราไปประชุมกันที่โรงแรมทีเค พาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ ขอเกริ่นที่ย่อหน้าแรกนี้เลยว่า การประชุมพี่เลี้ยงครั้งนี้ทำให้ผมได้เปิดกบาล อีกครั้งในชีวิตเลยนะครับ

ขอเริ่มจากที่มาเล็กน้อยว่า พี่ดวงพร ชวนผมไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่จันทบุรี 5 วัน ผมลังเลไม่นานแล้วรีบตอบพี่ดวงพรเลยว่า ไม่สะดวก เพราะผมไม่สะดวกไปพักนอกบ้านนานๆ ผมติดปัญหาเรื่องขับถ่าย ผมไม่มีคนดูแลตามไป ครั้นจะไปรบกวนพี่ดวงพร ซึ่งพี่ดวงงพร ก็อาสาผมมาตลอดว่า พี่เป็นพยาบาลเก่า ไม่ได้มีปัญหาใดๆ เลย แต่ตัวผมเองต่างหากที่ก็ยังเกรงใจพี่ดวงพรอยู่ครับ แต่ในความตั้งใจก็อยากให้พี่ดวงพร ช่วยพิจารณาว่าผมควรไปวันไหนดี สัก 1 วัน และเป็นวันที่ดีที่สุด ที่ผมจะสามารถขมวดปม แล้วกลับมาศึกษาเองอีกสักนิดหน่อย แล้วจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ เป็นกำลังให้กับ อบต.หาดอาษา

ที่ต้องอารัมภบทแบบนี้ ก็เพราะว่า ในวงการพัฒนาคนพิการ วงการศิลปะ วงการไอที นั้นผมได้รับการยอมรับในฐานะคนพิการ (คนทุพพลภาพมืออาชีพ) มีผลงานีที่แตกต่าง แต่สำหรับวงการนักวิชาการระดับประเทศนั้น ผมยอมรับว่าทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ ผมยังต้องเรียนรู้อีกมาก และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่หลังผ่านการอบรมพี่เลี้ยงแล้ว ตลอดระยะเวลาการอบรม ผมคิดได้เพียงว่า มีกะลาใบใหญ่ครอบอยู่เหนือหัวผมอีกแล้วครับ ที่สำคัญคือ กะลาใบนี้ใหญ่มากๆ ครับ ผมเอ่ยปากกับพี่ดวงพร เองเลยว่า ผมจะไปร่วมการอบรมที่ อบต.วังใหม่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ผมอยากเรียนรู้กระบวนการของ RECAP เพียงแต่ผมต้องวางแผนอย่างดี เพราะข้อจำกัดของผมยังคงมีติดตัวไปตลอดชีวิต ก็คือ "ความพิการรุนแรง" ที่ผมมีอยู่ แต่ก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะผมคิดว่า ในอนาคต มันจะทำให้สังคมเข้าใจ "ความพิการ" และ "คนพิการ" มากขึ้นครับ


ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับเพื่อนๆ ว่า สพช. นั้นทำงานเป็นแกนกลาง เชื่อมหน่วยงานสำคัญของไทย คือ

  1. สธ. (กระทรวงสาธารณสุข
  2. สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
  3. สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
  4. สช. (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)
  5. สวส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) เราเรียกทั้ง 5 องค์กรว่า 5ส. นะครับ ทำงานร่วมกับ
  6. องค์กรอนามัยโลก

เพื่อร่วมพัฒนากลไกการทำงานที่หนุนเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกองค์กรในระดับชุมชน ซึ่งในที่ประชุมก็มีศัพท์คำว่า RECAP ที่มาจากชื่อเต็มว่า Rapid Ethnographic Community Assessment Process แปลเป็นไทยว่า การศึกษาชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเร่งด่วน / เออ...ยอมรับว่า ตอนที่ทราบชื่อแรกๆ ยังนึกอะไรไม่ออก จบวันนี้แล้วยังมองเห็นลางๆ แต่ใจไปแล้ว ว่าเราต้องไปเอากะลาออกจากตัวให้ได้ครับ ในส่วนรายละเอียดผมคงไม่พิมพ์ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ

แต่จะสรุปแบบรวบรัดดังนี้ ผู้ใหญ่แต่ละหน่วยงานได้ออกมากล่าวถึงว่า องค์กรของตัวเองทำอะไรบ้าง จากนั้นมีการแยกกลุ่มตามกลุ่มภาค แล้วคุยกันว่าพื้นที่เป้าหมายทั้ง 100 ตำบลที่จะเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาให้เป็น "ตำบลสุขภาวะ" นั้นพอมี "ต้นทุนเดิม" อะไรบ้าง รวมทั้งลงมติของกลุ่มกันว่า ในระดับของพี่เลี้ยงจะร่วมงานกันอย่างไรตามโจทย์ที่ทาง สพช. ให้ไว้ จากนั้นก็ให้ตัวแทนกลุ่มขึ้นมากล่าวสรุปมติกลุ่ม ที่ทาง สพช. จะนำไปสังเคราะห์ต่ออีกเพื่อหาแนวทางร่วม ต่อไป ในใจผมนะครับ แค่เริ่มก็สนุกแล้ว




บรรยากาศตอนแยกกลุ่มครับ







ก่อนจะแยกกลุ่มอีกครั้ง ก็ฟังเนื้อหาจากองค์กรร่วมอีกช่วงนะครับ





แยกกลุ่มทำตามโจทย์อีกครั้งก่อนส่งตัวแทนขึ้นกล่าว ครับ




ตัวแทนกลุ่มขึ้นพูด และการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหลายท่าน

ส่วนตัวผมนั้น รวมๆ ถือว่ามาสังเกตุการณ์ก็ว่าได้ครับ ยังใหม่ ยังต้องเสริมความรู้ ตื่นเต้นกับการที่จะได้ไปจันทบุรี ในระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคม 2555 นี้นะครับ ไปแล้ว ได้ความรู้อย่างไร จะนำมาแบ่งปันเพื่อนๆ ให้ได้อ่านกันนะครับ อย่าลืมตามอ่านเรื่องดีๆ ที่ผมจะต้องมาเปิดกบาล และกะลา ออกจากตัวผม กันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook