19 ตุลาคม 2555 @ ไปร่วมงานเสวนา "5 ปี สื่อสาธารณะไทย... การประกอบส่วนในทิศทางขับเคลื่อนสังคม" ที่ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมก็มีธุระต้องออกจากบ้านไปร่วมวงเสวนากับทางไทยพีบีเอส ณ ห้องฝึกอบรม 3 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้ อาคาร D มีหน่วยงานที่ร่วมจัด คือ โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ รุ่น 2 สถาบันการพัฒนาสังคม พม. สำนักรับฟังและการมีส่วนร่วม ไทยพีบีเอส และ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. ซึ่งตอนแรกผมเข้าใจว่าผมมาร่วมงานปกติเนื่องจากเป็นวงเสวนา พึ่งเข้าใจว่าก็ให้อยู่ในกลุ่มวิทยากรร่วม 4 คนครับ

มีคุณณัฏฐา โกมลวาทิน เป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับผู้ร่วมเสวนารับเชิญ (คล้ายๆ วิทยากรมั้งครับ) คือ

  • นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานกรรมการมูลนิธิไทยพีบีเอส
  • คุณเพ็ญพันธ์ จิตตะเสนีย์ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. (สน.4)
  • คุณณัฐยา บุญภักดี ผจก.แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส.
  • ปรีดา ลิ้มนนทกุล ที่ปรึกษาทีมงานเฝ้าระวังและสะท้อนความคิดเห็น ศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส
มีการชมวีดิทัศน์แนะนำสื่อสาธารณะไทย ก่อนเริ่มเสวนากัน ตลอดการเสวนานั้น ผมมีความคิดเห็นว่า ทางไทยพีบีเอสน่าจะได้ข้อมูลเพื่อนำไป "คิดต่อ" "หาเรื่อง" และ "ชวนทำ" กับอีกหลายเครือข่าย หลายผู้ผลิตสื่อ เพราะมีความน่าสนใจในหลายๆ ประเด็น เช่น 
  • ประเด็นการนำเสนอข่าว ที่แตกต่างจากช่องอื่น
  • ประเด็นการเข้าถึงกลุ่มชนชั้นล่าง ที่อาจจะอยู่นอกกรอบของกฏหมาย ซึ่งสื่อสาธารณะควรเข้าไปทำความเข้าใจคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่
  • ประเด็นของการมอบรางวัลจากผู้ชม โดยเชิญผู้จัดรายการของไทยพีบีเอส ไปรับรางวัล / ในประเด็นนี้ผมคิดเห็นว่า ทางไทยพีบีเอสควรเข้าไปมีส่วนร่วม เนื่องจากจะทำให้เป็นการหนุนการรับชมรับฟังไทยพีบีเอส ได้อย่างมีนัยยะ ที่นาสนใจ ส่วนการนำเสนอ จะทำหรือไม่นั้น อาจต้องดูความเหมาะสม แต่ที่แน่นอนเลยคือ เกิดผลดีกับชุมชน และผู้จัดทำรายการแน่นอน เท่ากับเป็นความร่วมมือแบบลงทุนน้อยมากๆ ในแง่ของการตลาดแล้ว จัดเป็น Surprise Marketing ในอีกรูปแบบหนึ่ง
  • ประเด็นที่ คุณณัฐยา เสนอว่าควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ กับผู้จัดรายการ จนท.ที่เกี่ยวข้องของ กับไทยพีบีเอส ในเรื่อง และบริบทต่างๆ เป็นประจำ ซึ่งจะส่งผลต่อการนำเสนอข้อเท็จจริงของรายการ และความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากมีความรู้ ในเรื่องนั้นๆ จริงๆ / สำหรับประเด็นนี้ผมมีข้อเสนอเพิ่มเติม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอยากพูดในวงเสวนา แต่เนื่องจากเห็นว่ามีเวลาจำกัด จึงไม่ได้แลกเปลี่ยนในเวลา คือ ผมอยากยกตัวอย่างประเด็นของ "ความพิการ" หากผูเกี่ยวข้องในการผลิตรายการทราบข้อเท็จจริงจากผู้รู้ (เรื่องนี้ผมกับคุณไพบูลย์ ตั้งเป้าเดินสายบรรยายอยู่แล้วในปัจจุบัน ยินดีมาบรรยาย-อบรม ให้ทางไทยพีบีเอสนะครับ) ก็จะทำให้มีการนำเสนอที่ถูกต้อง สังคมก็จะค่อยๆ เกิดความเข้าใจ และยังสามารถนำไปเป็นประเด็น เป็นเหตุผล ในการตัวเนื้อหาสาระ ของบทละคร บทภาพยนตร์ หารพิจารณาคดี การมีเหตุมีผลของการเชื่อโยงเรื่อวราวต่างๆ ได้อย่างมีอรรถรส สมจริง น่าติดตาม // เคยมี จนท.ของการผลิตภาพยนตร์จากต่างประเทศ ติดต่อผมมาว่าจะให้ Consult นักแสดง แต่หลังจากที่ผมได้พูดคุยแล้ว เข้าใจลักษณะความต้องการถึงขอบเขตของความพิการที่เอื้อต่อบทแสดงแล้ว ผมก็บอกปฏิเสธเขาเลยว่า ผมให้คำปรึกษาเขาไม่ได้ ทั้งๆ ที่เขายืนยันจะให้ผมทำ เพราะผมพิการหนักกว่านั้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ผมไม่เข้าใจในบางขั้นตอน ในการใช้ร่างกายหรือดำเนินชีวิต จึงได้แนะนำคนพิการที่เหมาะสมให้เขา ซึ่งก็คือ คุณโสภณ ฉิมจินดา (พิธีกรายการ Big Family) 
  • ประเด็นที่ผมเสนอ คือ ต่อเนื่องจากที่พิธีกรถามมาจากความเห็นของคุณหมอยงยุทธ ว่าคิดเห็นอย่างไร ถึงการผลิตรายการเกี่ยวกับความพิการ คนพิการโดยตรง ซึ่งในความจริงก็มีวิธีการนำเสนอที่ดีอยู่แล้ว ในประเด็นนี้ผมเน้น และผลักดันตลอดเวลา ว่าถ้าในทรรศนะของผมนั้น วิธีการนำเสนอควรนำเอา "ความพิการ" ไปสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของรายการปกติทั่วๆ ไป จริงๆ แล้ว ในบ้านเราผมคิดเองจากการทำงานร่วมกับหลายองค์กร คือ กับคนพิการนั้นยังอยู่ในรอยต่อของการที่สังคมยอมรับความสามารถของคนพิการแล้วกับคนพิการบางคน แต่กับคนพิการส่วนใหญ่ ยังเอาตัวเองไม่รอด เมื่อได้โอกาสก็ไม่พยายามเต็มที่ หรือพยายามแล้วแต่ความสามารถไม่ถึง 
มีความจริงอยู่ 2 เรื่อง ที่ผมอยากแบ่งปัน-แลกเปลี่ยน คือ เรื่องของ "วงดนตรี" กับ "ซุปเปอร์แมน"

คำว่า "ซุปเปอร์แมน" นั้น ถูกนำมาเรียกในวงการคนพิการ กับคนพิการที่มีความสามารถมากๆ เช่น ที่เราเห็นกันอยู่หลายท่านในสังคมไทย และที่ถูกเรียกแบบนี้เนื่องจากคนพิการส่วนใหญ่มอง คนพิการที่โดดเด่นว่าเป็นไอดอลของคนพิการ ที่ตัวเองไม่มีความสามารถที่จะทำได้ แต่สถานการณ์อย่างนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นและเป็นไป อีก 10 ปีข้างหน้า จะมีคนรุ่นใหม่ที่มีซุปเปอร์แมนเป็นแรงบันดาลใจ บวกกับสังคมเริ่มยอมรับคนพิการ สังคมกับคนพิการจะเริ่มผนวกเข้าหากัน

สำหรับวงดนตรี นั้น นักดนตรีประจำเครื่องดนตรี แต่ละตัวนั้นต้องรู้บทบาทของตัวเอง และไม่ได้วัดกันที่ว่าใครเด่นกว่าใคร นักดนตรีทุกเครื่องดนตรี ควรไปด้วยกัน ประคับประคอง การเล่นให้ออกมาดีที่สุด

สำหรับตัวผม เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งวิจารณ์ว่า ผมเหมือนจะเป็นซุปเปอร์แมนในวงกาคนพิการแล้ว ผมจึงพยายามเขียนบทความให้ผู้อ่าน ซึ่งรวมคนพิการด้วย ได้ทราบที่มา ความเป็นมา ขั้นตอน เบื้องหลัง แล้วเห็นว่า ในความจริงแล้ว ผมก็เป็นคนธรรมดา เพียงแต่ผมมีปัจจัยอื่นมาเสริม เช่น ครอบครัวที่ดี ความรู้ที่มี และความรู้ใหม่ๆ ที่ผมแสวงหาตลอดเวลา และไม่ยากเกินกว่าคนพิการปกติจะแสวงหา

ดังนั้นแล้ว การนำเสนอแง่มุมของ "คนพิการ" ผมเห็นด้วย แต่อาจจะไม่มากเกินไป แต่ไทยพีบีเอสควรนำเสนอ "ความพิการ" มากกว่า เพราะความพิการไม่ยึดติดกับตัวบุคคล สามารถมีจินตนาการได้หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาของ "เมืองใจดี" เป็นการนำเสนอความพิการกับผู้สูงอายุ ที่บ้านมีความพิการซุกซ่อนอยู่ เป็นต้น







มาถึงความคิดในสมองตอนนี้ ผมอาจจะยังไม่ตกผลึกทางความคิดมากสักเท่าไหร่ แต่กรณีของคนกลุ่มล่าง ที่อาจจะยังไม่ได้ดูไทยพีบีเอสนั้น อาจจะต้องมีอะไรบางอย่างที่เป็น "ธง" และคนกลุ่มล่างสนใจ ที่จะมาเอาธงนี้ไปจากไทยพีบีเอส แอบนึกเล็กๆ ว่าคล้ายกับ "เหรียญทองโอลิมปิค" ซึ่งจะต้องตอบโจทย์คนกลุ่มล่างได้ ผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะ "เงิน" เท่านั้น อาจเป็นอย่างอื่น แต่ต้องทำให้ชีวิตของคนที่ได้ธง ดีขึ้น ส่วนจะเป็นอะไรนั้น ผมเองก็ยังคิดไม่ออก ณ ตอนนี้ครับ



กำลังออกตัวกับคุณหมอยงยุทธ ว่าจริงๆ แล้วผมเป็น Marketing จึงอยากนำความรู้ความสามารถมาช่วยระดมทุนให้กับทางมูลนิธิฯ เป็นความชอบส่วนตัว สนุกที่จะคิด และช่วยทุกๆ มูลนิธิฯ ครับ


ได้รับของชำร่วยเป็นเสื้อยืด และหนังสือเอนกประสงค์ที่มีภาพถ่ายเหตุการณ์มหาอุทกภัย 25554 แล้วเราก็ออกไปทานข้าวกลางวัน ที่หน้าห้อง และได้พูดคุย-แลกเปลี่ยน ในเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องครับ โดยเฉพาะเรื่องของตำบลสุขภาวะ ที่สำนัก 3 กำลังขับเคลื่อนอยู่ครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook