6 กรกฎาคม 2555 @ ประชุมการเตรียมงานปลูกพันธุ์ไผ่ ศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-แบงคอกแวนการ์ด ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท

สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากที่เราได้คุยเรื่องความร่วมมือในการทดลองงานวิจัยการปลูกข้าวให้ได้ 1 ไร่ 300 ถัง กับทางคูโบต้า ซึ่งเป็นมิติขิงความร่วมมือโดยฝ่ายประชาชนกับเอกชน ผมไม่อยากตำหนิฝ่ายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ชั่วโมงนี้สำหรับความคิดของผมในฐานะที่ตัวเองไม่ใช่เกษตรกร เป็นเพียงคนเมือง เป็นเพียงคนที่ซื้อข้าวของชาวนามากิน และได้โอกาสมามีส่วนร่วมกับเกษตรกร กลับมองว่ารัฐเข้ามามีบทบาทน้อยเกินไป

เหมือนเกษตรกรต้องพึ่งตนเอง ทั้งเรื่องการจัดการน้ำ เมล็ดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว และการใช้สารเคมี เออถ้าผมบ่นไปมากกว่านี้ เดี๋ยวจะไม่ใช่เนื้อหาหลักของบทความนี้ เพราะว่าผมจะนำเสนอข้อมูลเรื่องการปลูกไผ่เป็นสำคัญ เพราะหลังจากที่ได้รับความรู้จากอาจารย์ชัชวาลย์ แล้วเราก็ปรึกษาอาจารย์ต่อเรื่องการปลูกไผ่ เพื่อทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ไผ่ และตั้งชื่อว่า "ศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-แบงคอกแวนการ์ด" โดยอาจารย์ก็ยินดีเป็นที่ปรึกษาให้ครับ และเราได้สอบถามระยะที่เหมาะสม ซึ่งเรายึดตามพื้นที่ คือระหว่างแปลงห่าง 4 เมตรมาตรฐาน ส่วนสำหรับ เพาะกิ่ง ห่าง 3 เมตร / ตัดหน่อห่าง 4 เมตร และ ตัดลำต้นห่าง 6 เมตร 

อาจารย์ยังแนะนำเรื่องประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของไผ่ ทั้งเชิงประยุกต์+วิชาการ และแนะนำเรื่องการสร้างรายได้ที่นอกเหนือจาก 3 ทางที่ผมเคยนำเสนอไปแล้ว วันนี้หัวสมองของผมได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากครับ รวมทั้งเรื่องประวัติของอาจารย์ชัชวาลย์ด้วยครับ 







ทางคูโบต้า ยังไม่กลับนะครับ ยังคุยต่อกันอีกยกหนึ่งครับ


เรากำลังทานข้าวเย็นร่วมกันครับ


หน้าตาข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่อร่อยมากครับ


ก่อนจะกลับพวกเราทุกคนก็ทานข้าวเย็นร่วมกัน โดยมีข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพระเอก ผมได้ทานเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ยังคงอร่อยเหมือนเดิม ผมก็ตั้งใจว่าเร็วๆ นี้จะเริ่มโปรโมทข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าว กข 31 ด้วยครับ หวังว่าเพื่อนๆ จะช่วยอุดหนุนนะครับ และในส่วนไผ่ ทางเราก็จะเร่งทำผลิตภัณฑ์ออกมาด้วยครับ เพื่อเร่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ประสบภัย ต่อไปครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook