ไปประชุมมาบ้าง ไปนำเสนองานบ้าง ไปเป็นวิทยากรบ้าง ไปออกงานบ้าง จึงอยากเอามาฝากเพื่อนๆ บ้างครับ (18)



72 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 21 @ 22 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "จอดรถในที่จอดรถได้โดยบังเอิญ" : สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความนี้ ไม่มีอะไรมาก สบายๆ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถ เพราะว่า รถเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนที่มีรถไปแล้ว ดังนั้นแล้ว จึึงไม่แปลกที่จะเห็นภาพปรากการณ์รถจอดรถลอยฟ้า (แบบผิดกฏหมาย) ทีุ่ส่วนใหญ่พากันไปจอดรถบนทางด่วน บนสะพานข้ามแยกต่างๆ ตามที่เห็นบนหน้าจอทีวี ทำให้ผมนึกถึงในวัยเรียน ที่เรามักจะพูดเชิงล้อเล่นกันเวลาฟังผลสอบ ของเด็กที่เรียนหนังสือไม่ค่อยเก่งว่า "เกือบได้ กับเกือบตก" เกือบได้ คือสอบตก ส่วนเกือบตก คือสอบได้ จึงอยากนำภาพตัวอย่างของการจอดรถในภาวะน้ำท่วมมาให้ดูครับ .....อ่านต่อ



71 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 20 @ 22 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "การป้องกันน้ำท่วมในระบบระบายน้ำทิ้ง" : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมขอนำเอาสิ่งที่ควรทำในระหว่างน้ำท่วม กับบ้านที่ต้องการจะป้องกันน้ำท่วมนะครับ และเป็นปัจจัยสำคัญว่าน้ำจะท่วมบ้านหรือไม่ด้วยครับ คือ แนวท่อระบายน้ำ ที่น้ำท่วมจะย้อนเข้า หากเราไม่ได้ป้องกัน ดังนั้น เราจำเป็นต้องเอาอะไรก็ได้ ซึ่งที่นิยมกันก็คือ ทรายใส่ในกระสอบทราย อุดที่ท่อระบายน้ำนอกสุดภายในบริเวณบ้าน ส่วนอีกฝาท่อระบายน้ำจุดถัดมา ก็เอาปั๊มไดโว่มาวางไว้ เพื่อดูดน้ำเสีย ที่เกิดจากการใช้ห้องน้ำ อาบน้ำ ล้างจาน เป็นต้น ซึ่งก็มีปริมาณมากนะครับในแต่ละวัน ออกนอกรั้วบ้าน เพียงเท่านี้ เราก็สามารถใช้ห้องน้ำ และใช้น้ำในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ในระหว่างน้ำท่วมครับ .....อ่านต่อ


70 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 19 @ 21 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "พึ่งฟังข่าว "น้ำดันน้ำ" คิดเหมือนกันเลยครับ และผมก็ทำไปแล้วด้วยครับ" : สวัสดีครับเพื่อนๆ คืนนี้ผมพึ่งจะได้ยินแนวคิด เออไม่ใช่ครับ "โมเดลนเำดันน้ำ" จากช่องไทยพีบีเอส ถ้าเอธิบายสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ คือ ผมคิดว่าใช้ได้ เพราะผมก็ใช้อยู่ครับ โดยเขียนวิธีคิดเอาไว้ในตอนที่ 67 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 16 @ 20 ตุลาทคม 2554 ชื่อตอน "กาารักษาระดับน้ำเพื่อป้องกันแนวกำแพง" โดยสถานะระดับน้ำปัจจุบันที่วัดทุกวันคือ 1.35 เมตรจากพื้นถนนหน้าบ้านที่เป็นจุดต่ำสุด จุดสูงสุดของถนนที่ 1.22 เมตร พอช่วงเวลาน้ำขึ้น เราจะปล่อยให้ระดับน้ำในรั้วบ้านสูง 30-50 เซนติเมตร จากระดับนอกกำแพง เพื่อให้ระดับนอกกำแพงไม่ต่างจากข้างในมากเกินไป .....อ่านต่อ


69 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 18 @ 16 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "อบต. มาแจกถุงยังชีพชั่วคราว กระบวนการเชิงสัญลักษณ์ของเหตุการณ์น้ำท่วม":สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมขอขเียนบทความย้อนหลังสักหน่อยนะครับ เกี่ยวกับ "ถุงยังชีพ" เพราะว่าที่บ้านได้รับ 1 ครั้งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2554 ภาพทั้งหมดในบทความก็เป็นบรรยากาศที่ทาง อบต. พิมลราช นำมาแจก ถ้าไม่ได้เข้าใจอะไรผิดไป ผมคิดว่าพี่คนเสื้อขาว ดูมีอายุหน่อย น่าจะเป็น นายก อบต. นะครับ จากภาพผมเห็นว่า ไม่สมควรที่ทุกคนมาเดินลุยน้ำครับ น่าจะมีวิธีการอื่น กลัวเรื่องความสะอาดและโรคภัยไข้เจ็บ จะได้เก็บแรง เก็บร่างกายไว้ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติครับ บ่นๆ ให้อ่านกันประเดิมว่า เมื่อมีภัยพิบัติ ก็ต้องมีถุงยังชีพ .....อ่านต่อ


68 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 17 @ 20 ตุลาทคม 2554 ชื่อตอน "ความรู้สึกทำไมต้องยอมมาเป็นผู้ประสบภัย และการอพยพคนท้องแก่ออกจากบ้าน":สวัสดีครับเพื่อนๆ ตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วม มีทั้งเพื่อน และผู้ใหญ่ ถามทุกวันครับ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ทีวีพูดถึง "บางบัวทอง" จนดังไปแล้ว ทุกคนจะแนะนำให้ผมออกจากบ้าน ออกจากพื้นที่ ซึ่งส่วนตัวผมก็ตั้งใจออกข้างนอกนะครับ เพียงแต่ว่า คิดว่าจะให้ถึงที่สุดก่อน ระหว่างนี้เองผมก็มีความรู้สึกพร้อมๆ กัน 2 เรื่อง คือเรื่องที่ผู้ประสบภัยไม่ออกจากบ้าน คือผู้รู้ซึ้งเลยว่า ทำไมผู้ประสบภัยคิดอย่างนั้น แต่มีสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ครอบครัวเราจะพยายามไม่เป็นภาระให้กับผู้อื่น ถ้าจะต้องรบกวนก็จะให้น้อยที่สุด อย่างวันแรกที่ผมต้องอพยกเพราะว่าน้องสาว อีกคนเป็นห่วง จึงให้กู้ภัยมารับตัวผมออกไป อีกครั้งที่ผมจะรบกวนคือ ตอนที่ไม่สามารถต้านทานน้ำไว้ได้ .....อ่านต่อ


67 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 16 @ 20 ตุลาทคม 2554 ชื่อตอน "กาารักษาระดับน้ำเพื่อป้องกันแนวกำแพง" : สวัสดีครับเพื่อนๆ ระหว่างที่น้ำกำลังขึ้นสูงแบบไม่หวือหวาสักเท่าไหร่ในบางบัวทอง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่น้ำท่วมมีเพื่อนๆ ผู้ใหญ่ คนรู้จัก หลายท่านโทรมาถามสถานการณ์ทางบ้านผมว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็ตอบทุกคนว่ายังเอาอยู่ ยังป้องกันได้ จนวันนี้มีน้องที่รู้จักกัน ซึ่งมีความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา โทรมาสอบถามว่าเป็นอย่างไร อ่านบล็อกแล้วเตือนว่า กำแพงที่เอาไม้ค้ำยันไม่น่าจะรอด ซึ่งผมก็ยอมรับว่า ไม่น่าจะป้องกันได้ หลังวางสายทำให้ผมพยายามคิดว่าควรทำอย่างไร ในที่สุดก็ป๊งไอเดียเรื่องการรักษาระดับแรงดัน .....อ่านต่อ



66 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 15 @ 19 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "การจัดการน้ำซึมตามกำแพงอิฐบล็อกเบื้องต้น": สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้นอกจากช่วงเช้าจะได้ทำกำแพง Tray Barrierแล้ว ช่วงรอยต่อเวลายังมีเรื่องน่าหวาดเสียว ก็ึคือเริ่มมีน้ำซึมออกมาทางกำแพงอิฐบล็อก จึงทำให้ต้องรีบคิดหาวิธีป้องกันร่วมกันว่าทำอย่างไร จึงเริ่มมีการถกเถียงกันว่าจะทำอย่างไร ไมานานพวกเราก็มีข้อสรุป โดยผมจะสรุปทั้งแนวคิด และสรุปว่าจะควรทำอย่างไร ดังนี้ครับ

ข้อเสนอการปรุงแก้ไขน้ำรั่วจากกำแพง และสรุปการตัดสินใจ
  1. ฉาบปูนอุดรูรั่ว โดยให้ช่างมาทำ เราสรุปยกเลิก เพราะไม่อยากฝืนทางน้ำ ปล่อยให้นำไหลซึมออกมา ซึ่งเราจะดูดน้ำออกอยู่แล้วตลอดเวลา ด้วยปั๊มน้ำไดร์โว่ 4 ตัว .....อ่านต่อ


65 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 14 @ 19 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "ในที่สุดก็ได้ติดตั้ง Tray Barrier แล้วครับ ผมตั้งชื่อเองครับ" : สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความนี้เป็นอีกความพยายามหนึ่งที่พวกเรายังคงพยายามป้องกันกับน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ จากตอนที่แล้ว เรามีการเสริมแนวกระสอบทรายดันประตูใหญ่ไว้ แต่คงยังไม่แข็งแรงพอ เพราะถ้าน้ำท่วมถึง 2 เมตร คงสู้แรงต้านของน้ำไม่ได้ จึงจำเป็นต้องทำกำแพงค้ำยัน ที่เมื่อวานทีมงานของน้องเขยได้พยายามเอา Tray ขนาดกว้าง 45 เซนติเมตร สูง 5-10 เซนติเมตร ยาว 3 เมตรมาให้ เพื่อนำมาประกอบกันเป็นกำแพงยันกระสอบทราย ซึ่งพวกเราก็มั่นใจว่าจะสามารถเป็นกำแพงที่แข็งแรงได้ ทำให้พวกเราหายห่วงเรื่องแนวประตูใหญ่ .....อ่านต่อ


64 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 13 @ 18 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "แนวกระสอบทรายใม่ที่จำเป็นต้องทำขึ้นอีกแนว" : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้วันที่ 18 ตุลาคม 2554 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในภาวะน้ำท่วม ส่วนตัวคิดว่ากับทุกคนนั่นแหล่ะครับ ทั้งที่โดนน้ำท่วมแล้วต้องหนี หรือังไม่โดนท่วมแล้วต้องเตรียมตัว ครอบครัวผมคือ น้ำท่วมแต่ยังไม่เข้าบ้านก็ต้องต่อสู้กับการป้องกัน ทุกวันมีสถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกวัน วันนี้ก็เช่นกัน เรามีความจำเป็นต้องเสริมความแข็งแรงของแนวกระสอบทรายบริเวณหร้าประตูใหญ่ ที่มีแล้วถึง 3 ชั้น แต่เนื่องจากที่นี่ไม่คิดถอดประตูใหญ่ แต่ตัดสินใจใช้ประตูใหญ่เป็นแนวกำแพง จึงเกิดวิธีการเรียงกระสอบทรายแบบใหม่ ผมคิดอย่างนั้นนะ .....อ่านต่อ



63 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 12 @ 18 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน “เครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นในภาวะน้ำท่วม และภาพการเตรียมพร้อมเล็กน้อย” : สวัสดีครับเพื่อนๆ ก่อนที่ผมจะไปซีเรียสในตอนที่ 13 เกี่ยวกับพนังกันน้ำทำเอง ที่เอาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในอดีตมาประยุกต์ทำ จึงขอแทรกบทความเบาๆ ให้เพื่อนๆ อ่าน เนื่องจากในระหว่างการทำงานป้องกันน้ำท่วมที่มีพื้นที่ถึงจะไม่มาก แต่การกดแต่มือถือ หรือตะโกนบอกกัน ถ้ามากๆ เข้าก็เหนื่อยเอาเรื่องเหมือนกัน หรือแม้แต่เวลาพายเรือออกไปหน้าหมู่บ้าน ถ้าติดต่อสื่อสารกันแบบง่ายๆ ด้วย ว.วิทยุ ก็คงจะดีไม่น้อย สมัยก่อนตอนที่ผมมีบริษัทรับเหมาติดตั้งระบบสัญญาณมือถือ เราก็ใช้ ว.วิทยุ ในการทำงานเช่นกัน .....อ่านต่อ


62 : บทความชุด “ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัย” ตอนที่ 11 @ 18 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน “ความรู้สึกมากมายในระหว่างน้ำท่วม ที่สามารถเปรียบเทียบกับการทำงาน และภาพเก็บตกครับ” : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมอาจจะเคยบอกใครต่อใครมากมายเมื่อมีโอกาสว่า คนพิการทุพพลภาพอย่างผมที่ไปไหนมาไหนไม่ได้ นั้นได้เปรียบคนปกติอยู่พอสมควร ตรงที่ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามผมก็ไม่สามารถจะดิ้นรน หนีไปไหนได้ ยังคงต้องรอให้คนมาช่วยอยู่ดี ดังนั้นในภาวะการณ์ใดๆ ก็ตาม คนพิการที่ช่วยเหลือใครไม่ได้อย่างผม พอจะช่วยทุกคนในครอบครัวได้ คือ ต้องคิดให้ออกว่า มีจุดไหนบ้างที่จะทำให้น้ำเล็ดลอกเข้ามาได้ในปริมาณมากๆ ก็อาจจะต้องโวยวายทำเสียงดังให้ทุกคนสนใจ จนในช่วงเวลาหนึ่งถึกับต้องพูดออกมาว่า .....อ่านต่อ


61 : บทความชุด "ผมกำลังจะกลายเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ตอนที่ 10 @ 16 ตุลาคม 2554 ชื่อตอน "ความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตจากความพยายามช่วงน้ำท่วม" : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมต้องยอมรับว่า ตัวเองเป็นคนท่ชอบเรียนรู้ การเรียนรู้มีได้หลายอย่าง ตลอด
ชีวิตของผมเรียนรู้มาว่า เหตุการณ์คับขันทำให้เรามีความรู้ได้ เช่นเดียวกับช่วงนี้ที่ผมต้องอยู่กับสถาวะน้ำ่ท่วม ที่มีหลายๆ คนเรียกว่า "มหาอุทกภัย 2554" การอยู่กับสถาวะการณ์อะไรก็ตาม ย่อมเกิดอุปสรรคปัญหา จากนั้นเราก็ต้องเรียนรู้ปัญหานั้น เพื่อหาทางแก้ไข ปรับปรุง เช่นเดียวกัน ตอนนี้ผมเริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะว่างานของผมต้องใช้อินเตอร์เน็ต และตอนนี้อินเตอร์เน็ตเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2554 แล้ว อาการสำคัญ คือ สัญญาณจะใช้งานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แน่นอนผมจึงโทรเข้าไปที่ทรู 02-900-9000 จนแจ้งขอให้ช่างบริการเข้าามาดู .....อ่านต่อ


อ่านบทความทั้งหมด : 25.. 24.. 23.. 22.. 21 .. 20 .. 19 .. 18 .. 17 .. 16 .. 15 .. 14 .. 13 .. 12 .. 11 .. 10 .. 9 .. 8 .. 7...6...5...4...3 .. . ..2...1  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook